ลูกตัวเล็กควรทำอย่างไร? ลูกของเราตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกันทำอย่างไรดี?

Last updated: 14 พ.ย. 2567  |  4625 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลูกตัวเล็กควรทำอย่างไร? ลูกของเราตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกันทำอย่างไรดี?

ลูกตัวเล็กควรทำอย่างไร?


 

เด็กขาด growth hormone สาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเตี้ย
      การพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโต ( growth hormone ) ทำให้ความสูงตกเกณฑ์
ฮอร์โมนการเจริญเติบโตนี้จะสร้างจากต่อมใต้สมอง โดยอาจจะเกิดความบกพร่องแบบขาดฮอร์โมนตัวเดียว หรืออาจเกิดร่วมกับการขาดฮอร์โมนของต่อมใต้สมองตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย
     โดยทั่วไปเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีความสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. ต่อปี การเจริญเติบโตจะเริ่มผิดปกติเมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านั้นเด็กมักจะเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ร่างกายจะดูสมส่วนเมื่อเทียบกับความสูงคือจะไม่ผอมแกนหรือดูขาดอาหารนอกจากนั้นแล้วเด็กที่มีภาวะนี้จะดูอ่อนเยาว์กว่าอายุจริง โดยจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน Cr.mamaexpert.com

     การเสริมกรดอะมิโน แอลอาร์จินีนพลัส (L-arginine Plus) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นให้กับร่างกายในการสร้างโกรทฮอร์โมน เมื่อร่างกายมีการสร้างโกรทฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นตามมา

 

 

สาเหตุของความเตี้ย


1. กรรมพันธุ์ สาเหตุสำคัญที่พบมากที่สุด ถ้าพ่อแม่สูงทั้งคู่ ลูกก็จะสูงแม้ไม่ค่อยได้ทำอะไรเลย ถ้าพ่อแม่ไม่สูงทั้งคู่ ลูกจะไม่ค่อยสูงเหมือนกัน แต่ถ้าพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง ลูกก็จะมีความสูงในระดับกลาง ๆ ซึ่งพันธุกรรมของฝ่ายแม่จะมีผลต่อความสูงมากกว่าฝ่ายพ่อ แต่ในบางกรณีถ้าพ่อแม่ไม่ได้เตี้ยเพราะพันธุกรรม เช่น อาจจะได้สารอาหารไม่เพียงพอในวัยเด็ก ลูกที่โตมาก็อาจจะสูงกว่าพ่อแม่ได้ถ้าหากได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

 


2. การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ตั้งแต่ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ และในช่วงที่เด็กอยู่ในวัยเจริญเติบโต ซึ่งวัยนี้สารอาหารนั้นจำเป็นอย่างมาก

 


3. ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงวัยเด็ก หรือวัยเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอหรือออกกำลังกายแบบผิดวิธี


4. ภาวะความเครียด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี โดยเฉพาะการเรียนซึ่งจะมุ่งเน้นคะแนนสอบเป็นสำคัญ จึงมีการแข่งขันสูง ทำให้เด็กเครียดมากขึ้น ซึ่งความเครียดจะมีผลโดยตรงต่อการหลั่งฮอร์โมนในการเจริญเติบโต


5. การเจ็บป่วยต่าง ๆ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่สบายอยู่บ่อย ๆ อย่างเช่น โรคหอบหืด ซึ่งก็จะใช้ระยะเวลาในการรักษาพอสมควร ซึ่งการใช้ยาบางตัวอาจมีผลกับการเจริญเติบโตได้ และการที่ร่างกายถูกกระทบกระเทือนทางศีรษะอย่างแรงหรือบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น การหกล้ม ตกบันได ตกชิงช้าก็มีผลเช่นเดียวกัน


6. ร่างกายขาดฮอร์โมนที่ช่วยเจริญเติบโตหรือความสูง หรือฮอร์โมนไม่สมดุล เนื่องจากฮอร์โมนเหล่านี้จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยควบคุมสมดุลของการสร้างกระดูก ทำให้เด็กมีความสูงไปตามพันธุกรรมที่กำหนดไว้
การเสริมกรดอะมิโน แอลอาร์จินีนพลัส (L-arginine Plus) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นให้กับร่างกายในการสร้างโกรทฮอร์โมน เมื่อร่างกายมีการสร้างโกรทฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นตามมา

 
เช็คหรือยัง...วันนี้ลูกคุณตัวเล็กกว่าเกณฑ์หรือไม่

 






 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้